แนวคิดการจัดตั้งและดำเนินการ
ด้วยความเชื่อที่ว่า ผลงานการออกแบบไม่สามารถดำรงอยู่ได้โดยปราศจาก
รากฐานทางวัฒนธรรมและการสั่งสมทางปัญญาของสังคมTCDC ก่อตั้งขึ้นเพื่อผนวกความเก่งฉกาจของสังคมและวัฒนธรรมไทยเข้ากับความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ TCDC
จึงไม่ใช่โรงเรียนหรือสถาบันวิจัย แต่มุ่งเน้นการเป็น “มหรสพทางปัญญา” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและ จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทยผ่านกระบวนการให้ความรู้แบบสากล ตั้งแต่การจัดนิทรรศการ การบรรยาย สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ไปจนถึงการเป็นแหล่งค้นคว้าที่ให้ทั้งความรู้และความบันเทิงเพื่อสร้างเสริม ประสบการณ์ที่หลากหลายมิติ อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญของกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศDance with your imagination
and change your life
โลดแล่นไปกับจินตนาการ
เพื่อเปลี่ยนชีวิตคุณ

โลโก้ TCDC
"ขนมใส่ไส้" คือความชาญฉลาดระหว่างความคิดสร้างสรรค์ และงานออกแบบไทยที่มีมาเนิ่นนาน เป็นการผสมผสานส่วนผสมหลากชนิด ให้กลายเป็นขนมรสอร่อย โดยใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติที่ต้องใช้ความละเมียดละไม ทั้งความคิด และการประดิษฐ์ ส่งผลให้เกิดผลผลิตที่สมบูรณ์ไปด้วยสัมผัสของการบริโภค ซึ่งเป็นผลงานที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร เป็นความงดงาม ที่เกิดขึ้นจากความได้เปรียบของความแตกต่างทางวัฒนธรรม และทรัพยากรของประเทศ
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 พิธีเปิดศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบอย่างเป็นทางการ ที่ชั้น 6 อาคารเอ็มโพเรียมชอปปิ้งคอมเพล็กซ์ และเปิดให้บริการแก่ประชาชนตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเปิดให้บริการและดำเนินงานในฐานะหน่วยงานเฉพาะด้านของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ สบร. ประกอบด้วย 7 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ศสบ.) สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) สถาบันวิทยาการการเรียนรู้ (สวร.) ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติ (สมพช.) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (ศลชท.) ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม)
ในปี 2550 คณะกรรมการบริหาร สบร. มีมติให้ควบรวม 4 หน่วยงานเฉพาะด้าน เป็น 2 หน่วยงาน โดยควบรวม “ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติ" กับ "สถาบันวิทยาการการเรียนรู้” เป็นสถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ (สสอน.) และ "สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ" กับ "ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ" เป็น "สถาบันการเรียนรู้และสร้างสรรค์ (สรส.)"
ปี 2551 คณะกรรมการบริหาร สบร. ได้ยกเลิกการควบรวม ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ และสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เป็นหน่วยงานเฉพาะด้าน 2 หน่วยงานเช่นเดิม
ปี 2553 - 2554 สบร. มีการปรับโครงสร้างหน่วยงานเฉพาะด้าน โดยคณะกรรมการบริการ สบร. มีมติยุบสถาบันส่งเสริมอัจฉริยภาพและนวัตกรรมการเรียนรู้ (สสอน.) และให้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (ศลชท.) และศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม ได้แยกออกเป็นองค์การมหาชนใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) วันที่ 28 พฤษภาคม 2554 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) เหลือเพียง 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ศสบ.) สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.)
จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ขึ้นเป็นองค์การมหาชน ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจที่สมดุลและยั่งยืนในระยะยาว
โดย รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง)
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ สบร. ต้องแสดงศักยภาพของหน่วยงานให้เป็นที่ประจักษ์กับสังคมและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรับทราบอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีฯ มีความเห็นว่า หากใช้จุดแข็งของ สบร. และหน่วยงานภายในทั้ง 3 หน่วยงาน ผนึกกำลังและร่วมกันทำงานอย่างเข้มแข็งแล้ว เชื่อว่าประสิทธิผลจากการดำเนินงานจะสามารถส่งผลกระทบ (Impact) ให้กับสังคมได้ในวงกว้าง โดยมอบหมายนโยบายให้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ดำเนินการ ดังนี้